Home ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า สายไฟแต่ละสี ต่างกันอย่างไร

สายไฟแต่ละสี ต่างกันอย่างไร

อีเมล พิมพ์ PDF

งานช่างในบ้านที่ใครหลายคนต่างปวดหัวและไม่อยากข้องเกี่ยว ไม่ว่าจะชายหรือหญิงคือ “ชนิดของสายไฟ” แม้ในความคิดของช่างไฟอาจจะดูเรื่องง่ายๆ แต่เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนสายไฟในบ้าน หากจะไปซื้อสายไฟเองต้องรู้จักชนิดของสายไฟไว้ก่อน

ชนิดของสายไฟ มีอีกเรื่องที่ชวนงงคือ สีของสายไฟ ที่มีทั้งสีเหลือง เขียว ดำ และสีอื่นๆ อีก ซึ่งคนทั่วไปไม่ได้เชี่ยวชาญงานไฟฟ้าต่างก็สงสัยว่าแต่ละสีไว้ใช้ทำอะไรบ้าง มีข้อแตกต่างอย่างไร เราจึงรวมข้อสงสัยนี้มาตอบให้กระจ่างชัดกัน

ทำความเข้าใจเรื่องระบบส่งไฟแบบง่ายๆ ก่อน

ระบบไฟฟ้า 1 เฟส

สายไฟในบ้าน ระบบไฟฟ้า 1 เฟส

ระบบไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปตามบ้าน เป็นกระแสสลับระบบ 1 เฟส 2 สาย แรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยสายไฟ 2 สายที่ใช้ สายหนึ่งจะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่หรือเรียกว่าสายเคอร์เรนต์ ( current line ) ส่วนอีกสายจะเป็นสายนิวทรัล ( neutral line ) ที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ จะเห็นได้จากปลั๊กไฟตามบ้านที่มีช่องเสียบอยู่ 2 ช่อง ถ้าเอาไขควงสำหรับตรวจกระแสไฟฟ้าลองวัดดูจะเห็นได้ว่าช่องหนึ่งจะมีไฟแดงปรากฏ ส่วนอีกช่องจะไม่มีไฟแดงปรากฎแสดงว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่เมื่อเวลาใช้งานกับหลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกันทั้ง 2 สายเพื่อให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร ส่วนบางแห่งที่เห็นปลั๊กไฟมี 3 ช่องนั้นยังเป็นระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟสเหมือนกัน แต่ช่องที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นช่องที่ต่อกับสายดิน ( ground ) เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดินเวลาเกิดไฟรั่วเป็นการเพิ่มความปลอดภัย

ระบบไฟฟ้า 3 เฟส

สายไฟภายในบ้าน ระบบไฟฟ้า 1 เฟส

Advertisement


ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส 4 สาย แรงดัน 380 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยที่ 3 สายจะเป็นสายที่มี กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยทั่วไประบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบที่ไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไฟฟ้าระบบนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับระบบแสงสว่าง หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้โดยตรง แต่การการนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาใช้ในบ้านนั้นจะนำมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไปตามจุดต่างๆ ที่มีการใช้ไฟฟ้า การกระจายจุดของการใช้งานเช่นนี้ทำให้ไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมาก ถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า เพราะการคิดอัตราค่าใช้ไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ – ชั่วโมงจะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า คือยิ่งมีการใช้ไฟฟ้ามากก็จะยิ่งเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงขึ้น ดังนั้นการกระจายการใช้ไฟฟ้าออกเป็น 3 ส่วน จึงทำให้การใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วนหรือแต่ละเฟสน้อยลง ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูง

โดยสรุปคือ ทั้ง 2 แบบ สามารถนำมาใช้งานภายในบ้านได้เหมือนกัน หากนำ ระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้นั้นจะเสียค่าใช้จ่ายในตอนต้นค่อนข้างสูง เช่น ค่าติดตั้ง ค่าประกันการใช้ไฟฟ้า แต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาว ดังนั้นควรติดตั้งกับบ้านหรืออาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุดและเป็นปริมาณมากถึงจะคุ้มกว่า แต่หากเป็นบ้านหรืออาคารที่มีขนาดเล็กและมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่มากควรติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟสก็เพียงพอครับ

ชนิดของสายไฟภายในบ้าน

นอกจากนี้สายไฟที่ใช้ภายในบ้านยังจำแนกประเภทได้อีก 3 อย่างหลักๆ ด้วยกัน ตามนี้เลย


  • สายไฟ THW – สายทองแดงข้างในเป็นเส้นเดียว หุ้มฉนวนด้วยพลาสติก PVC จึงเหมาะสำหรับการเดินสายลอยภายในบ้าน ไม่ควรเดินสายลงดิน เพราะวัสดุไม่ทนทานความชื้น


  • สายไฟ VAF – สายทองแดงข้างในเป็นเส้นเดียว มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น ชั้นแรกจะเป็นสีขาว ชั้นที่ 2 เป็นสีตามสายไฟ มีทั้งแบบ 2 สายและ 3 สาย ฉนวนเป็นพลาสติก PVC เช่นเดียวกัน จึงเหมาะสำหรับเดินสายไฟภายในบ้าน


Advertisement


  • สายไฟ VCT – สายทองแดงข้างในเป็นแบบเส้นเดียว และเป็นแบบฝอย มีฉนวนหุ้มเป็นวัสดุยางพารา จึงเหมาะกับเดินสายไฟใช้งานภายนอก เพราะวัสดุทนความชื้น และทนความร้อนได้ดี

สีของสายไฟเกี่ยวข้อง และแตกต่างกันอย่างไร

ที่พูดมาข้างต้นเกี่ยวข้องกับสีสายไฟแน่นอน ซึ่งขอเล่าก่อนว่าปัจจุบันสีของสายไฟได้เปลี่ยนแปลงไปตามผลบังคับใช้ มอก.11-2553 ซึ่งต้องการเปลี่ยนสีขนาดแรงดัน และชื่อของของสายให้ตรงกับมาตรฐาน IEC code ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และร่วมถึงประเทศที่อยู่นี้กลุ่ม AEC ด้วย ให้เป็นในแนวทางเดียวกัน สร้างความเข้าใจให้ง่ายมากขึ้น ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

สีสายไฟ ชนิดของสายไฟ

จากเดิม

  • L1 – สีดำ
  • L2 – สีแดง
  • L3 – สีฟ้า
  • N – สีเทา
  • G – สีเขียวแทบเหลือง

เปลี่ยนใหม่

  • L1 – สีน้ำตาล
  • L2 – สีดำ
  • L3 – สีเทา
  • N – สีฟ้า
  • G – สีเขียวแทบเหลือง

ซึ่งระบบ 1 เฟสและ 3 เฟส จะมีสีสายไฟแตกต่างกันตามนี้

ระบบ 1 เฟส

  • สายเฟส (L) ฉนวนเป็น สีน้ำตาล
  • สายนิวทรัล (N) ฉนวนเป็น สีฟ้า
  • สายดิน (G) ฉนวนเป็น สีเขียวแถบเหลือง

ระบบ 3 เฟส

  • สายเฟส (L1) ฉนวนเป็น สีน้ำตาล
  • สายเฟส (L2) ฉนวนเป็น สีดำ
  • สายเฟส(L3) ฉนวนเป็น สีเทา
  • สายนิวทรัล (N) ฉนวนเป็น สีฟ้า
  • สายดิน (G) ฉนวนเป็น สีเขียวแถบเหลือง

ทั้งนี้ การเปลี่ยน ซ่อมแซมสายไฟด้วยตนเอง ยังคงเป็นเรื่องอันตรายอยู่นัก แนะนำว่าให้ใช้ช่างผู้ชำนาญทำการเปลี่ยนให้จะปลอดภัยกว่า แต่ตอนไปเลือกซื้อก็ควรมีความรู้ไว้ติดตัวเช่นกัน

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 03 มีนาคม 2019 เวลา 13:49 น.  
ป้ายโฆษณา

รับต่อเติมบ้าน

รับติดตั้งจานดาวเที่ยม กล้องวงจรปิด

รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

เนื้อโคขุนโพนยางคำ

Login Form


Polls

ปกติใช้คอมพิวเตอร์ for ?
 

Who's Online

เรามี 3 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 2528815

RSS