ความรู้เรื่อง Surge Protective Device (SPD)

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2019 เวลา 12:27 น. ผู้ดูแลระบบ
พิมพ์


อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเสิร์จ (Surge Protective Device : SPD)

แรงดันไฟฟ้าเสิร์จ (ไฟกระโชกแบบช่วงสั้น) เป็นสภาวะที่มีแรงดันไฟฟ้าปริมาณมากเกิดขึ้นภายในวงจรไฟฟ้าในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นปัญหาทางไฟฟ้า
ที่มักเกิดขึ้นอยู่เสมอ และผลกระทบจากปัญหาทางไฟฟ้าเหล่านี้สร้างความเสียหายได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์
อิเล็กทรอนิคส์ชำรุดเสียหาย, ระบบหยุดทำงาน, ทำให้สูญเสียข้อมูล, เวลา ตลอดจนโอกาสทางธุรกิจ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ มีด้วยกันหลายสาเหตุ ได้แก่

อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเสิร์จ (Surge Protective Device : SPD) หรือที่นิยมเรียกกันว่าอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่านั้น
ได้รับการออกแบบให้สามารถนำแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นออกจากระบบไฟฟ้า โดยสร้างแนวที่มีความต้านทานต่ำเชื่อมต่อไปสู่ตำแหน่งของสายดิน
เพื่อให้แรงดันที่สูงขึ้นชั่วขณะไหลไปตามแนวความต้านทานต่ำไปยังสายดิน โดยอุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเสิร์จ เซนส์ รุ่น TNR-D10
จะนำแรงดันไฟฟ้าออกไปเมื่อเกิดแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไฟเส้น L (มีไฟ) กับสายไฟเส้น G (สายดิน) สูงกว่า 385 โวลต์ (ค่า Uc) ขึ้นไป

หมายเหตุ

  1. บางครั้งอาจจะเกิดแรงดันไฟฟ้าเสิร์จมีค่าสูงมากๆ เช่น ฟ้าผ่าอย่างรุนแรง เป็นต้น จนทำให้เกิดกระแสระดับสูงจนเกินกว่าค่าที่ Surge Protector
    จะทนได้ (Max Current Capacity: Imax ที่ระบุบนตัวอุปกรณ์) ทำให้วงจรภายใน Surge ขาดออกจากกันจนไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ดังนั้นในกรณีนี้
    เจ้าของบ้านจะต้องซื้ออุปกรณ์ตัวใหม่มาเปลี่ยนแทน (สังเกตจากสัญลักษณ์สีบนตัวอุปกรณ์จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง)
  2. บ้านทุกหลังควรจะทำการต่อสายศูนย์ (Neutral : N) ลงดิน (Ground: G) ที่แผงเมนสวิตซ์ตามกฎของการไฟฟ้า เพื่อให้สายศูนย์มีแรงดันอ้างอิงเป็นศูนย์เท่ากับพื้นดิน
    (G)  ซึ่งเป็นการลดความเสียหายหากเกิดแรงดันผิดปรกติขึ้นในระบบไฟฟ้าที่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับความเสียหายและ อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเสิร์จเกิดความร้อนจนลุกไหม้ได้