ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ 083-792-5426
สนันสนุนการค้นหาข้อมูลโดย 

www.becomz.com

400 บาท รับซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ 

ค่าแรง+ค่ารถ+ลงwinodws+โปรแกรมดูหนังฟังเพลง+office+antivirus
 
Tel. 083-792-5426

ปล.ให้บริการ เฉพาะเขตพื้นที่ รามคำแหง บางกะปิ นวมินทร์ เสรีไทย ลาดพร้าวเฉพาะ บริเวณ จากเดอะมอลบางกะปิถึงโชคไชย4

TEL. 083 - 792 - 5426
แก้อาการ เปิดไม่ติด บู๊ตไม่ขึ้น ไม่มีภาพ
- ฿ 500  
แก้อาการ เปิดไม่ติด บู๊ตไม่ขึ้น ไม่มีภาพ

ในกรณีนี้ ช่างจะทำให้เครื่องสามารถเปิดติด  ภาพขึ้นหน้าจอมีตัวหนังสือ เข้า bios ได้

ค่าบริการ 400 บาท

*** หากระบบปฏิการของลูกค้ามีปัญหาเข้า windows ไม่ได้จะต้องเพิ่มค่าลง windows ใหม่ winodws+โปรแกรมดูหนังฟังเพลง+office+antivirus ค่าบริการ 400 บาท

 

อาการ ที่ว่านี้ก็คือ ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง

การสังเกตุ จากไฟสแตนบาย (Stand by) ถ้าติดอยู่ในขณะที่เสียบอะแดปเตอร์ แสดงว่าไฟจ่ายแล้ว

  • ในเครื่องที่มีไฟสถานะ Standby อยู่ ก็จะไม่มีสถานะไฟติดให้เห็นนะครับ
  • และสำหรับเครื่องที่ไม่มีไฟ Standby ก็จะยิ่งไม่ทราบใหญ่

การสังเกตุ จากไฟชาร์จแบตเตอรี่ ถ้าติด แสดงว่า ไฟจากอะแดปเตอร์จ่ายแล้ว

  • ถ้าเพื่อนๆได้เสียบแบตเตอรีเข้า เครื่องไว้  โดยไม่ได้เสียบไฟจากอะแดปเตอร์ ก็จะไม่เห็นสถานการทำงานของการชาร์จเกิดขึ้นครับ  จนกว่าจะมีการเสียบไฟจากอะแดปเตอร์เข้าไปยังตัวโน๊ตบุ๊ค  ไฟสถานะชาร์จก็จะติดสว่างขึ้น  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็จะได้ทราบว่า ไฟจ่ายเข้าเครื่องแล้วนั่นเองครับ

การสังเกตุ จากไฟสถานะของอะแดปเตอร์ ถ้ากระพริบ ก็แสดงว่า โหลด(load)ของวงจรมีการดึงกระแสไฟลงกราวด์แบบเต็มๆนะครับ หรืออาจเรียกได้ว่า วงจรช้อตนั่นเอง

  • ตามปรกติไฟสถานะของอะแดปเตอร์(หาก มี) จะติดสว่างนิ่งอยู่  แต่ถ้าเห็นว่ามีการกระพริบเกิดขึ้นในขณะที่เราได้เสียบขั้ว DC Jack เข้าสู่โน๊ตบุ๊ค  นั่นย่อมทำให้เราได้ทราบว่า มีการช้อตไฟจากแหล่งจ่ายลงกราด์ทั้งหมด  ทำให้ไฟไม่สามารถไปเลี้ยงยังส่วนวงจรต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ครับ  เราก็ต้องหาตัวช้อตในวงจรให้เจอ และยกออก เปลี่ยนใหม่ ก็จะกลับสู่สภาพเดิมครับ  เพียงแต่ว่า เราจะเจอตัวเสียตรงไหนหละครับ

วิธีการตรวจซ่อมอาการไฟไม่จ่ายเข้าเครื่องกันครับ

กาตรวจเช็คกรณีที่ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง แต่ไฟสถานะของอะแดปเตอร์กระพริบ

  • เราทราบดีแล้วจากบทความที่ได้ กล่าวๆกันไว้  ว่ากรณีที่ไฟสถานะของอะแดปเตอร์กระพริบนั้น  ส่วนใหญ่จะเกิดจากไฟจากแหล่งจ่ายช้อตลงกราวด์ของวงจร  ไฟจากแหล่งจ่ายก็คือไฟจากอะแดปเตอร์นั่นเอง  กรณีนี้  จะว่าง่ายก็ได้  จะว่ายากก็ได้ เพราะถ้าไม่เจอตัวช้อตตรงๆตามที่เราตรวจเห็น  ก็จะทำให้เราหามันไม่เจอ  ซึ่งยากแก่การซ่อมมากๆครับ

จุดในการตรวจสอบเบื้องต้น

  • กลุ่มของ C อิเล็คโตรไลท์ ในส่วน Filter ไฟแหล่งจ่ายหลัก ซึ่งเพื่อนๆจะมองหาได้ง่ายๆ ก็อยู่แถวด้านหลังของ DC Jack ประมาณนั้นใน  ซึ่งตรงนี้ผมคงได้เพียงแต่พูดได้ประมาณนี้  เพราะในแต่ละรุ่นนั้น ก็จะมีการวางวงจรไว้แตกต่างกัน  แต่ในหลักการออกแบบวงจร ก็จะคล้ายๆ กัน ก็คือ ต้องมีกลุ่ม C Filter อย่างแน่นอนครับ  ไม่ว่าจะเป็น C ตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก SMD ก็ต้องตั้งมิเตอร์  RX1 วัดสลับขั้วสาย  และถ้าจะให้ดูชัดเจนขึ้น เมื่อพบว่าตัวใด วัดแล้วเข็มมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลทั้งสองครั้งในการวัด  ก็ให้เพื่อนๆ ทำการถอด หรือลอยขาของชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นนั้นครับ  แล้ว  เอาสายมิเตอร์วัดที่จุดบัดกรีบนเมนบอร์ดว่า เข็มมิเตอร์ยังตีสุดสเกลทั้งสองครั้งอยู่อีกหรือเปล่า  ถ้าไม่แล้ว  ก็ให้เพื่อนๆ วัดที่ตัวอุปกรณ์ที่ถอดลอยไว้ ว่าเข็มมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลหรือไม่  ถ้าขึ้นทั้งสองครั้งก็แสดงว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นช้อตแน่นอน (ถ้าเป็น C ,D,Tr,MosFet) แต่ก้าการวัดที่จุดบัดกรีบนเมนบอร์ดยั้งทำให้เข็มของมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลอยู่ เหมือนเดิม  เพื่อนๆ ก็ต้องวัดหาตัวเสีย ช้อต กันต่อไปให้เจอนะครับ   (อันนี้เป็นวิธีการแบบแรก)

    อาการไฟจ่ายแต่ไม่ขึ้นภาพ (ตรวจเช็คในส่วนเมนบอร์ด)

    ขั้นตอนปฏิบัติ

  • นำแผงเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คที่เราแกะออกจากตัวเครื่องแล้ว  ออกมาหาที่วางนุ่มๆ  อาทิเช่นฟองน้ำ หนาๆ
  • ติดตั้ง CPU,RAM และแผงควบคุมการสั่งเปิดปิดเครื่องลงไป
  • เชื่อมต่อสายสัญญาณ DB-15 จากจอภาพภายนอก (เช่น จอ CRT หรือ LCD ที่ใช้กับเครื่องแบบตั้งโต๊ะ

นอกจากจากที่ได้กล่าวถึง นี้นะครับ เพื่อนๆ ไม่ควรจะเสียบอุปกรณ์ใดเข้าไปยุ่งเกี่ยวเพิ่มเติมอีก เช่น HardDisk,DVD-RW ,Battery,Keyboard,Touch Pad และอื่นๆ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้มีผลทำให้เกิดภาพแต่ประการใดครับ

  • เมื่อปฏิบัติตามสามข้อข้างต้นแล้ก็ขอให้เพื่อนๆทำการเสียบขั้วไฟจาก Adaptor สำหรับโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นๆนะครับจาก นั้นกดปุ่มสวิชท์ Power On ตอนนี้ไฟก็จะจ่ายเข้าเครื่องตามปรกติ  พัดลมของ CPU อาจจะหมุน  หรือยังไม่หมุน  หรือหมุนสักพักแล้วหยุดลง  อันนี้ก็แล้วแต่โน๊ตบุ๊คในแต่ละยี่ห้อ และแต่ละรุ่นนะครับ

รอประมาณ 10 วินาที เพื่อดูว่าได้ภาพหรือไม่

  • ตาคอยสังเกตุภาพที่จอที่เราต่อพ่วงไว้ หรืิออาจจะลุ้น โดยการดูที่ไฟสถานะของจอภาพ (ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีภาพนั้นจะเป็นอีกสีนึง เช่น อาจเป็นน้ำเงิน หรือส้ม ซึ่งอาจกระพริบอยู่ก็ได้นะครับ  แต่เมื่อมีภาพก็จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว นิ่ง

ปรากฏว่าก็ยังไม่ได้ภาพอีกเหมือนเดิม จะทำยังไงกันต่อดี…

  • พอถึงตรงนี้ เราก็พอจะมั่นใจได้แล้วนะครับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ มันอยู่แต่ในเมนบอร์ดอย่างเดียวเท่านั้น  เพราะเพื่อนๆ ได้ทำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไปแล้ว (ตามที่ผมได้พูดไว้ใน ตอนที่1)

ขั้นตอนการตรวจเช็คในวงจร

  • รูปด้านบนนี้ ผมนำมาให้เพื่อนๆดู ก็เพื่อให้ทราบถึงขาในตำแหน่งต่างๆ ของ ROM BIOS (ตามรูปด้านบน เป็นแบบ TSOP ) ผมกำลังจะให้เพื่อนๆทราบว่า ในเวลาที่เราจ่ายกระแสไฟเข้าเครื่องแต่ยังไม่ได้ออนเครื่อง(กดปุ่ม Power On) นั้น  เราสามารถใช้สโคป จับไปที่ขาสัญญาณ (Clk) ตัวถังแบบ TSOP จะมี Clk ที่ขา 7 เราจะเห็นรูปสัญญาณ เกิดขึ้น นั่นแสดงว่า เราพร้อมที่จะสั่งออนเครื่องได้แล้ว  แต่ถ้าไม่มี(ในบางรุ่น) ก็อาจเป็นเหตุผลที่เราไม่สามารถกด Power Sw เพื่อให้เครื่องทำงานได้นั่นเอง ***เป็นความเข้าใจของผู้จัดทำที่ตรวจซ่อมเครื่องและได้เก็บเป็นข้อมูลไว้นะครับ***

ตัวถังแบบ PLCC ขา Clk จะอยู่ที่ขา 31

ตัวถังแบบ SOic 8 ขา Clk จะอยู่ที่ขา 6


  • ห้ทำการกดปุ่ม Switch Power On เพื่อให้ไฟจ่ายในระบบ   จากนั้น
  • ให้ทำการวัดไฟที่ตำแหน่งขั้วแบตเตอรี่ ว่ามีไฟเลี้ยงที่ประมาณ 3.3 โวลท์บ้างหรือไม่ (ควรมีมา)
  • ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ขาไฟของไบออส รอม (เช่นหากเป็นแบบ SO-IC8 ก็ตรวจวัดที่ขา 8 )ควรมีไฟมาเีลี้ยง 3.3 V.
  • ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ตำแหน่ง C แบบมีขั้ว ที่อยู่รอบๆของฐานแรม ควรมีไฟเลี้ยงประมาณ 1.5 , 1.8 , 2.5 , หรือ 3.3 V. ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของแรมในเมนบอร์ดนั้นๆ ครับ
  • ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ตำแหน่ง C แบบมีขั้ว ที่อยู่รอบๆของฐาน CPU ว่าควรมีไฟมาเลี้ยงประมาณ  1.XX V. หรืออาจต่ำกว่า 1.xx ไม่มาก ก็ไม่ถือว่าผิดปรกติ  (ดังรูปด้านล่างนี้ผมได้จับแรงไฟซีพียูให้เพื่อนๆดว่า จริงๆแล้ว ซีพียูแต่ละตัว ต่างสเป็คกัน แรงไฟ อาจแตกต่างกันไปนะครับ

  • ให้ใช้สโคปวัดความถี่ 33 MHz ที่  ที่อยู่ใกล้กับ Multi IO
  • ให้ใช้สโคปวัดความถี่ 14.3 MHz ที่ Cystal 14.3 ของ Clock Gen(เมื่อระบบไฟมีการจ่ายในเมนบอร์ดแล้ว)