Home บริการความรู้เรื่องบ้าน การเลือกหลอดไฟและประเภทโคมตกแต่งในบ้าน

การเลือกหลอดไฟและประเภทโคมตกแต่งในบ้าน

อีเมล พิมพ์ PDF

แสงไฟที่ใช้ในบ้านแบ่งเป็นลักษณะ
1.แสงสว่างทั่วไป
(Background Lighting)เป็นการใช้แสงทดแทนแสงธรรมชาติโดยให้แหล่งกำเนิดจากที่สูงได้แก่ไฟที่ติดบนเพดานผนังหรือโคมไฟห้อยจากเพดาน

2.แสงเพื่อทำงาน
(Task Light) เน้นระดับแสงที่สว่างเป็นพิเศษ และควรให้แสงสว่างอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ทำให้เกิดเงามืดบนพื้นที่ทำงาน

3.แสงสำหรับเน้น
(Accent Light) สำหรับการเน้นแสงเงาเพื่อสร้างมิติให้งานตกแต่ง แสงประเภทนี้เกิดจาก ดวงไฟสปอตไลท์ไฟส่องรูปภาพ(Picture Light) ไฟที่ซ่อนอยู่ในช่องว่างของผนัง รวมไปถึงโคมไฟตกแต่งต่างๆเมื่อรู้จักลักษณะแสงไฟที่ใช้ภายในบ้านแล้ว ต่อมาควรรู้จักประเภทขอหลอดไฟซึ่งให้แสงที่มีลักษณะการใช้งานและให้ผลกับความรู้สึกต่างกันไป

 

 

ประเภทของหลอดไฟก็สำคัญไม่แพ้กัน หลอดไฟที่ใช้กันในบ้านมีอยู่ประเภทหลัก ๆ
1.หลอดไส้ทังสเตน (tungsten) จะให้แสงที่อบอุ่น ออกโทนสีเหลือง และเหมาะสำหรับการใช้ในงานตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศและแสงเงาที่สวยงามเหมือนแสงธรรมชาติ และสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์หรี่ไฟ ( Dimmer ) แต่มีข้อเสียที่อายุการใช้งานสั้น

2.ฮาโลเจน
(Halogen) หลอดไฟชนิดนี้จะให้แสงที่ดูขาวและสว่างกว่าทังสเตน เพราะภายในหลอดไฟจะใส่ก๊าซฮาโลเจน ซึ่งช่วยให้แสงแสดงรายละเอียดของสีสัน ที่ให้ความรู้สึกสดใสและสว่างมาก เหมาะจะใช้กับ โคมไฟสปอตไลท์ เพื่อเน้นจุดสำคัญ แต่มีปัญหาเรื่องความร้อนสูงมาก แต่ก็สามารถใช้ชุดหรี่ไฟติดเพื่อปรับปริมาณแสงและความร้อนได้ตามต้องการ

3.ฟลูออเรสเซ้นต์
(Fluorescent) แสงไฟชนิดนี้ได้รับความนิยมมากเพราะราคาถูกและประหยัดพลังงานแต่แสงมีผลต่อโทนสีของห้องที่เพี้ยนจากสีจริงไปทางสีฟ้า แต่ในปัจจุบันมีการใช้ชนิดของแก้วสีเพื่อปรับแสงสีและปรับให้แสงไฟดูนุ่มนวลมีโทนขาว และเหลือง เพื่อให้แสงดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น


สรุปลักษณะของแสงและความเหมาะสมในการใช้งาน ของหลอดประเภทต่างๆ 
ชนิดของหลอดไฟ โทนสีของหลอด

หลอดไส้ โทนอุ่น เช่น ส้ม แดงสดใส และขาวอมสีฟ้า เหมาะกับห้องที่ต้องการสร้างบรรยากาศอบอุ่น
โรแมนติก อย่างห้องนอน ห้องรับประทานอาหาร

ฟลูออเรสเซ็นต์ โทนสีขาว ส่วนใหญ่แสงจะอมฟ้า และเขียว ให้แสงที่สว่างมาก สีห้องไม่เพี้ยนตามแสงสี
และประหยัดไฟเป็นพิเศษจึงเหมาะกับพื้นที่ทำงาน

ฮาโลเจน โทนเหลืองอบอุ่น ให้แสงสว่างเน้นเฉพาะจุดได้ดี เหมาะกับ ส่องเน้นงานศิลปะ ของตกแต่ง
บนผนังหรือในตู้โชว์

 

 

สุดท้ายลองมาดูชนิดของโคมไฟที่จะสร้างให้เกิดบรรยากาศอย่างที่ต้องการ

 

รูปแบบโคมที่ให้บรรยากาศแสงต่างกันไป

 

ไฟเพดาน ดาวน์ไลท์เป็นโคมไฟที่ใช้ง่ายและนิยมมากที่สุดเพราะให้แสงสว่างได้ทั่วถึงทั้งห้อง แต่อย่างไรก็ตามการใช้แสงชนิดนี้เพียงอย่างเดียว ถึงห้องจะดูสว่างก็จริงแต่ขาดมิติ ควรมีการเพิ่มแสงไฟ เน้นเฉพาะจุดสปอตไลท์และติดตั้งชุดหรี่ไฟ เพื่อปรับความสว่างเฉพาะจุดได้ตามต้องการ

โคมไฟระย้า
รูปแบบของโคมไฟห้อยเพดานนั้น จะทำให้แสงกระจายลงมาเท่ากันในทุกทิศทางเฉพาะพื้นที่ใช้งานเหมาะกับการเน้นพื้นที่เฉพาะ อย่างโต๊ะรับประทานอาหาร ชุดรับแขก โดยสามารถควบคุมทิศทางของแสงได้ด้วยลักษณะโคม ที่ปล่อยให้แสงส่องลงล่าง หรือบนเพดาน หรือความสูงต่ำของโคมก็มีผลกับความสว่างของการใช้งานได้ รวมทั้งสีของโคมก็มีผลต่อแสงสว่างที่ออกมาดังนั้นต้องดูให้เหมาะสม

ไฟสปอตไลท์
มีลักษณะแสงที่ส่องตรงเฉพาะจุด และก้านโคมสามารถปรับตำแหน่งได้เพื่อส่องให้ตรงกับรูปภาพต้นไม้ ผนังที่หรือสิ่งของที่ต้องการเน้นให้ดูเด่น สามารถติดได้ทั้งบนเพดาน ผนัง และพื้น

ไฟผนัง
( Wall Light)เป็นไฟที่ให้แสงสว่างเน้นบนผนังเพื่อกระจายออกด้านหน้า โดยแสงออกเพดานและพื้นด้วยมักจะอยู่ในรูปของโป๊ะที่ยื่นออกมาจากผนัง จึงเหมาะ สำหรับหน้าโต๊ะแต่งตัว เพราะจะให้แสงสว่างโดยไม่เกิดเงาบนใบหน้า

โคมไฟตั้งโต๊ะ
(Table Lamps) และโคมไฟตั้งพื้น (Floor Lamps)โคมไฟตั้งโต๊ะจะให้แสงที่นุ่มนวล และกระจายแสงในมุมแคบ โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบของโคมเหมาะกับการสร้างบรรยากาศในมุมที่มืดของบ้าน หรือมุมที่ต้องการความสว่างเฉพาะจุดเช่นการอ่านหนังหัวเตียงหรือมุมนั่งเล่น ซึ่งตรงนี้อยู่ที่ความพอใจเรื่องดีไซน์เข้ากับบ้านมากกว่าแสงสว่างในการใช้งาน

โคมไฟโต๊ะทำงาน
(Desk Lamps)จุดประสงค์ของมันก็คือการให้แสงสว่าง ตรงไปยังบริเวณที่ต้องการโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงออกแบบให้สามารถปรับองศาได้หลากหลายเพื่อไม่ให้เกิดเงามืดของมือบังแสงขณะอ่านหรือเขียนหนังสือ


เมื่อรู้จักแสงไฟจากหลิดและโคมประเภทต่างๆแล้วลองนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับห้องของคุณดูล่ะกัน
หวังว่าคงจะช่วยให้บรรยากาศในห้องดูดีขึ้นบ้าง

 
ป้ายโฆษณา

รับติดตั้งจานดาวเที่ยม กล้องวงจรปิด

เนื้อโคขุนโพนยางคำ

Login Form


Polls

ปกติใช้คอมพิวเตอร์ for ?
 

Who's Online

เรามี 6 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 2523598

RSS