วันนี้คุณติดตั้งสายดินแล้วหรือยัง

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม 2012 เวลา 18:08 น. ผู้ดูแลระบบ
พิมพ์

k13_new

สายดิน คือการต่อตัวนำหรือสายไฟฟ้าจากส่วนที่เป็นตัวนำไฟฟ้าหรือผิวโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งตามปกติจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านโดยสามารถสัมผัสถูกได้ แล้วต่อสายตัวนำเพื่อนำไฟฟ้าลงสู่ดิน เพื่อเป็นเส้นทางให้กระแสไฟฟ้าที่รั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ไหลลงดิน ขณะเดียวกันก็เป็นเส้นทางให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลย้อนกลับไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าได้สะดวก เพื่อลดอันตรายและความเสียหายที่อาจเกิดจากการถูกไฟฟ้าดูด หรือไฟช๊อต หลักการนี้เองที่นำมาใช้ในระบบสายดิน

เมื่อเราไม่ได้ทำการต่อสายดินจากตัวเครื่องใช้ภายในบ้านแล้ว อาจทำให้กระแสไฟฟ้าเกิดการรั่วไหล ทำให้อาจเกิดอันตรายต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน การที่เราไม่สนใจและมองข้ามกับเรื่องเล็กน้อยเพียงเท่านี้ อาจนำมาสู่ความหายนะหรือความสูญเสียต่าง ๆ โดยที่เราคาดไม่ถึงมาก่อน ไม่มีใครอยากให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตัวคุณเองและคนรู้จัก ดังนั้นหากคุณรู้จักใช้และป้องกันอันตรายอันเกิดจากการใช้ไฟฟ้า ก็ย่อมทำให้เกิดความปลอดภัยได้

โดยธรรมชาติของกระแสไฟฟ้านั้น จะไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าที่มีค่าความต้านทานน้อยกว่าเสมอ ตัวอย่างเช่น ระหว่างร่างกายของคนเรากับสายไฟฟ้าที่มีแกนกลางเป็นโลหะนำไฟฟ้า เมื่อเกิดไฟรั่วกระแสไฟจะเลือกที่จะไหลผ่านสายไฟฟ้ามากว่าร่างกายคนเราเสมอ ทั้งนี้เนื่องจากสายไฟฟ้ามีค่าความต้านทานต่ำกว่าร่างกายของคนเรานั่นเอง
ส่วนสาเหตุการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วถูกไฟฟ้าดูดหรือซ๊อตนั้น เกิดจากการที่ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าเส้นที่มีไฟฟ้าไหลผ่านชำรุด หรือฉีกขาด เมื่อสายไฟนั้นไปสัมผัสกับผิวโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็อาจทำให้เกิดภาวะไฟฟ้ารั่ว เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าไปสัมผัสกับจุดที่มีการรั่วของไฟฟ้าจะทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายเป็นซึ่งบางครั้งเราอาจไม่รู้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้อยู่มีการรั่วของไฟฟ้า การต่อสายดินไว้จึงเป้นการป้องกันกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลให้ไหลลงสู่ดิน ช่วยลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้ทางการไฟฟ้านครหลวงยังได้ออกประกาศดังนี้
**เมื่อวันที่ สิงหาคม พ.ศ.2539 การไฟฟ้านครหลวงได้ออกประกาศให้ผู้ยื่นขอไฟฟ้ารายใหม่ จะต้องเดินสายไฟฟ้าให้มีระบบต่อลงดิน รวมทั้งต้องติดเต้ารับไฟฟ้าทุกตัวให้เป็นเต้ารับไฟฟ้าชนิดที่มีขั้วสายดิน นอกจากนี้ผู้ที่ขอใช้ไฟฟ้าเพิ่ม จะต้องมีการต่อระบบสายดินที่เมนสวิตซ์ หรือ อุปกรณ์สำหรับสับปลดวงจรที่มีอยู่ระหว่างสายเมนเข้ากับอาคารกับสายภายใน เป็นอย่างน้อย โดยประกาศดังกล่าวได้มีผลใช้บังคับเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นอีกระดับ ระบบสายดินเพื่อความปลอดภัย หมายถึง ระบบการเดินสายไฟเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นสายดิน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า จะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ส่วนด้วยกัน คือ

 

1. หลักดิน คือ วัตถุที่ฝังอยู่ในดินที่ทำหน้าที่กระจายประจุไฟฟ้า หรือ กระแสไฟฟ้า ให้ไหลลงดินได้โดยสะดวก
2. สายต่อหลักดิน คือ สายตัวนำที่ใช้ต่อระหว่างหลักดินกับส่วนที่ต้องการต่อลงดิน
3. สายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า คือ สายตัวนำที่ต่อระหว่างขั้วต่อสายดินที่ได้มีการต่อลงดภายในตู้แผงสวิตซ์ประธานไปยังเปลือกโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า และ
4. สายต่อฝาก หรือ สายประสาน เป็น สายตัวนำที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างขั้วต่อสานดิน หรือ ขั้วต่อสายศูนย์ที่มีการต่อลงดิน หรือ ตัวนำที่มีการต่อลงดิน กับวัตถุตัวนำอื่น ๆ ภายในบริเวณเดียวกัน**

ติดตั้งสายดินอย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยลดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของตัวคุณเองและครอบครัวแล้ว ยังจะช่วยให้คุณมั่นใจต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านของคุณ ว่ามีความปลอดภัย และใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยภายในบ้านของคุณเองอีกด้วย แล้ววันนี้คุณติดตั้งสายดินแล้วหรือยัง