Home บริการงานคดี Latest 10อรหันต์ผู้ตรวจแผ่นดินได้ฤกษ์ประชุมแก้รธน.

10อรหันต์ผู้ตรวจแผ่นดินได้ฤกษ์ประชุมแก้รธน.

อีเมล พิมพ์ PDF

เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ ( 20 มิ.ย.) ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ (10 อรหันต์)  ของผู้ตรวจการแผ่นดิน กำหนดประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางและข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (รธน.) ในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น ในการประชุมครั้งนี้มีนายวิษณุ เครืองาม รองประธาน ทำหน้าที่ประธานในการประชุม และมีผู้ร่วมประชุมอีก 4 คนประกอบด้วย นายบวรศักดิ์  อุวรรณโณ  เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นายธีรภัทร์  เสรีรังสรรค์  อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตผู้ช่วยอธิการบดี มสธ. นายจรัส  สุวรรณมาลา  อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตส.ส.ร. ปี 50 และนายกิตติศักดิ์  ปรกติ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยมีนายศรีราชา เจริญพาณิช และนายประวิช รัตนเพียร ผู้ตรวจการแผ่นดิน

นายกิตติศักดิ์ ปรกติ โฆษกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ผู้ตรวจการแผ่นดิน  แถลงภายหลังว่า ที่ประชุมได้หารือถึงประเด็นที่เป็นสาระของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่พูด กันมาก คือสาระสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญใช้บังคับ แก่กรณีนั้นๆ   หรือมาตรา 7 เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน แม้จะมีผลการศึกษาอยู่ค่อนข้างมาก ทางคณะกรรมการฯจึงมอบให้ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ที่เป็นกรรมการอยู่ ไปทำการศึกษารวบรวม ความหมายของประเด็นดังกล่าว เพื่อนำมาพูดคุยในการประชุม และวางแนวทางว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากัษัตริย์ทรงเป็นประมุมที่แจริงคือ อะไร ในการประชุมครั้งหน้า

นายกิตติศักดิ์ กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นจะพูดถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องของการชุมนุม การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และขอบเขตสิทธิการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือ มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่

“ เรื่องระบอบการปกครอง ขณะนี้ก็เชื่อมโยงกับปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 บัญญัติว่าห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ที่พูดกันตอนนี้  หรือที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 68 ก็คือเรื่องของการล้มล้าง ซึ่งกฎหมายไม่ได้บัญญัติคำนี้ไว้  ดังนั้นทางคณะกรรมการฯ เห็นว่า การที่จะไปบอกว่าเป็นการเปลี่ยนหรือเป็นการล้มล้างเราจะต้องมีความเข้าใจที่ ถ่องแท้เสียก่อนว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มันเป็นอย่างไร โดยการพิจารณาของคณะกรรมการฯก็จะครอบคลุมทั้งมาตรา 291 และ 68 ที่เราเริ่มเรื่องนี้ก่อนเพราะเรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องของการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ”นายกิตติศักดิ์กล่าว

และว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะกระทบต่อระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่ได้.

 
ป้ายโฆษณา

รับติดตั้งจานดาวเที่ยม กล้องวงจรปิด

เนื้อโคขุนโพนยางคำ

Login Form


Polls

ปกติใช้คอมพิวเตอร์ for ?
 

Who's Online

เรามี 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 2526303

RSS