Home บริการเดินสายไฟ
รับเดินสายไฟฟ้า

 

ขั้นตอนการให้บริการ
1.ติดต่อทางเราโทร 083 - 792 - 5426 บอกรายละเอียดและความประสงค์ของลูกค้า
2.ฝ่ายช่างติดต่อกลับ ภายใน 24 ชม. เพื่อนัดประเมินราคางานที่หน้างาน   โดยเบื้องต้น  จะมีค่าบริการการประเมินราคา 600 บาท (ในกรณีให้ประเมินราคาอย่างเดียว )
3.ทำสัญญาจ้างและชำระเงินเงิน 50%  ของมูลค่างาน
4.เริ่มดำเนินงาน โดยทีมงาน Becomz.com
5.นัดลูกค้าตรวจสอบงาน  และชำระเงิน

ขอบคุณที่ใช้บริการ

เดินสายไฟ ิbecomz มีความเชี่ยวญชาญในการออกแบบและ การเดินสายไฟ ทั้งระบบ
เดินสายไฟขนาดเล็ก ไปถึง การ เดินสายไฟ ระดับโรงงานใหญ่ ๆ
โดยทีมงาน engineer และ system engineer เพื่อออกแบบระบบให้มีความเหมาะสม
กับการทำงานและสภาพแวดล้อมากที่สุด นอกจาก การ เดินสายไฟ
แล้ว ทางทีมงานมีความเชี่ยวชาญทางด้านการเดินสายอื่นๆ ได้แก่ การออกแบบและ
เดินสายไฟ แสงสว่าง สายโทรศัพท์ สายภาพและเสียง และระบบกล้องวงจรปิด
และสายสัญญาณทุกชนิด เรามีทีมคุมงานระดับวิศวะกร



รับเดินสายไฟ - ช่างเดินสายไฟ - เดินสายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ - เดินรางไฟ - บริการรับเดินสายไฟ - รับเดินไฟ
- ช่างไฟ - บริการรับเดินไฟ- เดินไฟบ้าน - รับเดินไฟบ้าน - รับเดินไฟโรงงาน - เดินไฟโรงงาน - เดินไฟออฟฟิต


แนวปฏิบัติในการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า



การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางไฟฟ้า


การปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางไฟฟ้า  สามารถแบ่งขอบข่ายของการปฏิบัติ ได้  3  ขั้นตอน  ดังนี้

1. การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าระหว่างการติดตั้ง

การติดตั้งระบบไฟฟ้าในอาคาร  ยึดตามหลักการและมาตรฐานของการไฟฟ้ ส่วนภูมิภาค
 ใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานรองรับ  หากไม่ยึดถืออย่างเคร่งครัดอาจ
ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

หลักการและข้อปฏิบัติในการติดตั้งไฟฟ้า

1.  วัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดต้องมีมาตรฐานรองรับ

2.  เครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติงาน  ต้องมีความพร้อมและเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติและเป็นเครื่องมือที่ใช้กับงานไฟฟ้า

3.  การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน  ต้องเดินให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ  ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน

4.  อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตากแดดตากฝนอยู่เสมอ  เช่น  สวิทช์  กระดิ่งไฟฟ้า  หลอดไฟฟ้านอกบ้าน  
ต้องใช้แบบกันน้ำได้

5.  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีตัวถังเป็นโลหะควรต่อสายดิน  เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว

6.  การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องทำให้เรียบร้อยทุกครั้ง  อย่าปล่อยให้อุปกรณ์หรือฉนวนชำรุด

7.  อย่าเดินสายไฟฟ้าติดรั้วสังกะสีหรือโครงเหล็ก  โดยไม่ได้ร้อยสายในท่อ

2.  การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าระหว่างการปฏิบัติงาน  มีหลักในการปฏิบัติงานดังนี้

2.1  เวลาปฏิบัติงานต้องแต่งกายให้เหมาะสม  รัดกุม

2.2  ขณะปฏิบัติงาน  ควรมีผู้ปฏิบัติงานร่วมกันอย่างน้อย  2  คน

2.3  อย่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้า  ในขณะที่มือเปียกหรือยืนบนพื้นที่เปียก

2.4  ก่อนการทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า  จะต้องถือว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นมีไฟอยู่จนกว่าจะได้ทดสอบแล้วว่าอุปกรณ์เหล่านั้นไม่มีไฟอยู่  
จึงจะปฏิบัติงานได้

2.5  ก่อนการทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้านั้น ๆ  ต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ  
ให้ถูกต้อง  ชัดเจนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงาน

2.6  อย่าติดตั้งเสาอากาศวิทยุ  โทรทัศน์ใกล้กับแนวสายไฟฟ้า

3.  การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าระหว่างการซ่อมแซมและบำรุงรักษา

ผู้ทำหน้าที่ซ่อมแซมและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า  ต้องมีจรรยาบรรณดังนี้

ข้อกำหนดการเดินสายไฟฟ้าสำหรับงานทั่วไป


6.1 ขอบเขต
ข้อกำหนดนี้ครอบคลุมการเดินสายไฟทั้งหมด

ยกเว้น การเดินสายไฟที่เป็นส่วนประกอบภายในของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ แผงควบคุมและแผงสวิตซ์ต่าง ๆ
การเดินสายนอกเหนือจากที่กล่าวในบทนี้ยอมให้ทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

6.2 สายไฟฟ้า

6.2.1 ข้อกำหนดการใช้งานของสายไฟฟ้าตาม มอก.11
6.2.2 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้า

6.3 ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับระบบแรงต่ำ

6.3.1 สายไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันต่างกัน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดดังนี้
(1) ระบบแรงต่ำทั้ง AC และ DC ให้ติดตั้งสายไฟฟ้ารวมกันอยู่ภายในท่อสายหรือเครื่องห่อหุ้มเดียวกันได้ ถ้าฉนวนของสายทั้งหมดที่ติดตั้งนั้นเหมาะสม
(2) ห้ามติดตั้งสายไฟฟ้ระบบแรงต่ำรวมกับสายไฟฟ้าระบบแรงสูงในท่อสายหรือเครื่องห่อหุ้มเดียวกัน
ยกเว้น ในแผงสวิตซ์ บ่อพักสายหรือเครื่องห่อหุ้มอื่นที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินสาย
6.3.2 สายไฟฟ้า ต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพ เช่นนี้
(1) การ เดินสายไฟ ทะลุผ่านโครงสร้างไม้ รูที่เจาะผ่านโครงสร้างต้องห่างจากขอบไม้ไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร หากรูที่เจาะห่างจากขอบน้อยกว่า 3 เซนติเมตร
หรือเดินสายในช่องบากต้องป้องกันไม่ให้ตะปูหรือหมุดเกลียวถูกสายได้
(2) การเดินสายไฟชนิดที่มีเปลือกนอกไม่เป็นโลหะทะลุผ่านโครงสร้างโลหะที่เจาะเป็นช่องหรือรูต้องมี bushing grommet ยึดติดกับช่องหรือรู เพื่อป้องกันฉนวนของสายชำรุด
(3) การเดินสายไฟทะลุผ่านโครงสร้างอื่น ต้องมีปลอกที่เป็นฉนวนไฟฟ้าสวมหรือจัดทำรูให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฉนวนที่หุ้มสายเสียหาย
6.3.3 การป้องกันการผุกร่อน
ท่อสาย เกราะหุ้มเคเบิล (Cable armor) เปลือกนอกของเคเบิล กล่อง ตู้ ท่อโค้ง ข้อต่อและเครื่องประกอบ


การเดินท่ออื่น ๆ ต้องเป็นวัสดุที่เหมาะสมหรือมีการป้องกันที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่สิ่งนั้นติดตั้งอยู่ การป้องกันการผุกร่อนต้องทำ ทั้งภายในและภายนอกเครื่องอุปกรณ์ โดยการเคลือบด้วยวัสดุที่ทนต่อการผุกร่อน
เช่นสังกะสี แคดเมียม หรือ enamel ในกรณีที่มีการป้องกันการผุกร่อนด้วย enamel ห้ามใช้ในสถานที่เปียกหรือภายนอกอาคาร กล่องต่อสายหรือตู้ที่ใช้กรรมวิธีป้องกันการผุกร่อนด้วย organic coating
ยอมให้ใช้ภายนอกอาคารเมื่อได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้วเท่านั้น
6.3.4 การติดตั้งวัสดุและการจับยึด
(1) ท่อสาย ราง เดินสายไฟ รางเคเบิล อุปกรณ์จับยึดเคเบิล กล่อง ตู้และเครื่องประกอบการเดินท่อ ต้องยึดกับที่ให้มั่นคง
(2) ท่อสาย เกราะหุ้มและเปลือกนอกของเคเบิล ทั้งที่เป็นโลหะและที่ไม่ใช่โลหะ ต้องต่อเนื่องระหว่างตู้ กล่อง เครื่องประกอบการเดินท่อ
(3) การ เดินสายไ ในท่อสาย
สำหรับแต่ละจุดที่มีการต่อสาย ปลายท่อ จุดต่อไฟฟ้า จุดต่อสายแยก จุดติดสวิตซ์ หรือจุดดึงสาย ต้องติดตั้งกล่องหรือเครื่องประกอบการเดินท่อ
ยกเว้น การต่อสายในสิ่งห่อหุ้มสายที่มีฝาเปิดออกได้แเละเข้าถึงได้ภายหลังการติดตั้ง
(4) สายไฟฟ้าในท่อสายแนวดิ่งต้องมีการจับยึดสายที่ปลายบนของท่อสายและต้องมีการจัดยึดสายเป็นช่วง ๆ ซึ่งห่างไม่เกินตามที่กำหนดใน ตาราง 6-3
ยกเว้น ถ้าระยะตามแนวดิ่ง น้อยกว่าร้อยละ 25 ของระยะที่กำหนดไม่ต้องใช้ที่จับยึด
6.3.5 จุดเปลี่ยนการเดินสายจากวิธีใช้ท่อสายหรือรางเคเบิลเป็นวิธีเดินสายในที่โล่งหรือเดินสายซ่อน ต้องใช้กล่องหรือเครื่องประกอบการเดินท่อ เช่น service entrance connector
ตรงปลายท่อที่มีรูเป็นบุชชิ่งแยกกัน 1 รู สำหรับ 1 ท่อ อนุญาตให้ใช้บุชชิ่งแทนการใช้กล่องหรือ terminal fitting ที่ปลายท่อในเมื่อปลายของท่อสายเดินล้ำเข้าไปในแผงสวิตซ์แบบเปิดหรือแผงควบคุมแบบเปิดได้
6.3.6 ต้องป้องกันไม่ให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำในเครื่องห่อหุ้มหรือท่อสายที่เป็นโลหะดังต่อไปนี้
(1) เมื่อติดตั้งสายสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับในเครื่องห่อหุ้มหรือท่อสายที่เป็นโลหะ ต้องจัดทำมิให้เกิดความร้อนแก่โลหะที่ล้อมรอบ เนื่องจากผลของการเหนี่ยวนำ เช่น โดยการรวมสายทุกเส้นของวงจรและสายนิวตรอล (ถ้ามี)
รวมทั้งสายดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้ในสิ่งห่อหุ้มหรือท่อสายเดียวกัน
(2) เมื่อสายเดี่ยวของวงจรเดินทะลุผ่านโลหะที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กจะต้องจัดให้ผลจากการเหนี่ยวนำมีน้อยที่สุด โดยการตัดร่องให้ถึงกันระหว่างรูแต่ละรูที่ร้อยสายแต่ละเส้น หรือโดยการร้อยสายทุกเส้นของวงจรผ่านช่องเดียวกัน
6.3.7 ท่อสาย กล่อง ตู้ เครื่องประกอบ และเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะ ต้องต่อลงดิน
6.3.8 ในท่อสายและรางเคเบิล ต้องไม่มีท่อสำหรับงานอื่นที่ไม่ใช่งานไฟฟ้า เช่น ท่อไอน้ำ ท่อประปา ท่อก๊าซ ฯลฯ
6.3.9 เมื่อเดินท่อสายผ่านที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก เช่น เดินท่อสายเข้า-ออก ห้องเย็น ต้องมีการป้องกันการไหลเวียนของอากาศภายในท่อ จากส่วนที่มีอุณหภูมิสูงไปส่วนที่มีอุณหภูมิเย็นกว่า
เพื่อไม่ให้เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำภายในท่อ
6.3.10 การกำหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวน
(1) สายนิวตรอล ใช้สายสีเทาอ่อน หรือขาว
(2) สายดิน ใช้สายสีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง
(3) สายเส้นไฟ ใช้สายที่มีสีต่างไปจากสายนิวตรอลและสายดิน
ข้อยกเว้นที่ 1 สายไฟฟ้าที่มีขนาดโตกว่า 16 ตารางมิลลิเมตร ให้ทำเครื่องหมายแทนการกำหนดสีที่ปลายสาย
ข้อยกเว้นที่ 2 สายออกจากมิเตอร์ถึงเมนสวิตซ์


6.4 ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับระบบแรงสูง
เป็นไปตามที่ได้กำหนดในข้อ 6.3 และเพิ่มเติมดังนี้

6.4.1 กล่อง เครื่องประกอบการเดินท่อ และสิ่งห่อหุ้มอื่นที่คล้ายกันต้องมีฝาปิดที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน การสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยบังเอิญ และป้องกันความเสียหายทางกายภาพต่อชิ้นส่วนต่าง ๆ หรือฉนวน
6.4.2 รัศมีการตัดโค้งของสายไฟฟ้า
(1) สายไฟชนิดไม่มีปลอกคั่นหรือไม่มีเปลือกตะกั่ว ต้องมีรัศมีการตัดโค้งไม่น้อยกว่า 8 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก
(2) สายไฟชนิดมีปลอกคั่นหรือมีเปลือกตะกั่วหุ้มต้องมีรัศมีการดัดโค้งไม่น้อยกว่า 12 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก


6.5 การเดินสายไฟบนผิวอาคาร

6.5.1 ใช้เดินสายไฟระบบแรงต่ำทั่วไปภายในอาคาร โดยใช้สายไฟฟ้าตาม มอก.11


6.5.2 การเดินสายไฟต้องป้องกันไม่ให้ฉนวนของสายชำรุด
6.5.3 การเดินสายไฟโดยใช้เข็มขัดรัดสาย ต้องมีระยะห่างของเข็มขัดรัดสายไม่เกิน 20 เซนติเมตร
6.5.4 การต่อและการต่อแยกสายให้ทำในกล่องต่อสายสำหรับงานไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติตามข้อ 6.21 เท่านั้น
6.5.5 การเดินสายไฟทะลุผ่านผนังหรือสิ่งก่อสร้าง จะต้องมีการป้องกันสาย โดยจะต้องร้อยสายผ่านปลอกฉนวนที่เหมาะสมและไม่ดูดความชื้นเพื่อป้องกันฉนวนของสายไฟฟ้าเสียหาย
6.5.6 การเดินสายไฟ ให้ติดตั้งเรียงเป็นชั้นเดียว ห้ามซ้อนกัน
6.5.7 สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนและเปลือกแกนเดียว สายแบน 2 แกน และสายแบน 3 แกน (VAF) ตาม มอก.11 ตารางที่ 2 หากเดินบนผิวภายนอกของอาคาร ยอมให้เฉพาะติดตั้งได้ชายคาหรือกันสาด


6.6 การเดินสายไฟเปิดบนวัสดุฉนวน

6.6.1 เป็นการเดินสายแบบเปิดโล่ง โดยใช้ตุ้ม ลูกรอก หรือลูกถ้วยเพื่อการจับยึด สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเป็นสายเดี่ยวและต้องไม่ถูกปิดบังด้วยโครงสร้างของอาคาร
6.6.2 สำหรับระบบแรงต่ำ
(1) การเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวนภายในอาคารให้ใช้ได้เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม งานเกษตรกรรม และงานแสดงสินค้าเท่านั้น
(2) ต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพตามข้อ 6.3.2 และสายต้องอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร
(3) การเดินสายในสถานที่ชื้น เปียกหรือมีไอที่ทำให้เกิดการผุกร่อน ต้องมีการจัดทำเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สายไฟฟ้าได้
(4) สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเป็นสายหุ้มฉนวน
ยกเว้น สายที่ป้อนกำลังให้ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้บนราง
(5) วัสดุฉนวนสำหรับการเดินสาย ต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน


(6) การเดินสายไฟเปิดบนวัสดุฉนวนภายในอาคารให้เป็นไปตามที่กำหนดใน
(7) การเดินสายไฟเปิดบนตุ้มภายนอกอาคาร ยอมให้เป็นไปตามที่กำหนด ของการเดินสายเปิดบนตุ้มภายในอาคาร หากเดินสายข้ามที่โล่งจะต้องใช้สายขนาดไม่เล็กกว่า 2.50 ตารางมิลลิเมตร
     และระยะระหว่างจุดจับยึดสายต้องไม่เกิน 5 เมตร
(8) การเดินสายไฟเปิดบนลูกรอกหรือลูกถ้วยภายนอกอาคารให้เป็นไปตามที่กำหนด
6.6.3 สำหรับระบบแรงสูง
(1) การติดตั้ง ต้องจัดให้เข้าถึงได้เฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
(2) ในกรณีที่ติดตั้งสายยึดโยง จะต้องติดตั้งลูกถ้วยยึดโยงในสายยึดโยงลูกถ้วยนี้ต้องอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร และต้องมีคุณสมบัติทางกลและทางไฟฟ้าเพียงพอกับสภาพการใช้งาน ตาม มอก.280 ภ

(3) การเดินสายต้องเป็นไปตามข้อ 6.6.2 (3) และ (5) ภ

(4) ต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพและสายไฟฟ้าต้องอยู่เหนือพื้นดิน อาคารหรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ตาม
ตารางที่ 3-4
(5) ลวดผูกสาย ต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เล็กกว่า 4 มิลลิเมตร ถ้าเป็นสายเปลือยลวดผูกสายต้องเป็นชนิดที่ไม่ทำให้เกิดการผุกร่อน เนื่องจากโลหะต่างขนิดกัน




6.7 การเดินสายไฟในท่อร้อยสายชนิดท่อโลหะหนา (RIGID METAL CONDUIT) ท่อโลหะหนาปานกลาง (INTERMEDIATE METAL CONDUIT) และท่อโลหะบาง (ELECTRICAL METALLIC TUBING)
6.7.1 การใช้งาน
ใช้กับงานเดินสายทั่วไป

ติดต่อสอบถาม

22 รามคำเเหง72 หมู่บ้านเจริญชัย เขต บางกะปิ เเขวง หัวหมาก กรุงเทพมหานคร 10240

Mail          : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน (สำหรับส่งรายละเอียดการซ่อม )

Tel.           : 083-792-5426  (คุณฐิติกร )

website    : www.becomz.com

open         10.30 - 23.30 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ


***  ค่าบริการเบื้องต้น 600 บาท  สำหรับการดูงานและประเมินราคา ****

ป้ายโฆษณา

รับติดตั้งจานดาวเที่ยม กล้องวงจรปิด

เนื้อโคขุนโพนยางคำ

Login Form


Polls

ปกติใช้คอมพิวเตอร์ for ?
 

Who's Online

เรามี 5 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 2526111