Home กฏหมานน่ารู้ ลักษณะความผิดของกฎหมายอาญา

ลักษณะความผิดของกฎหมายอาญา

อีเมล พิมพ์ PDF


ความ ผิดในทางอาญานั้น โดยหลักแล้วต้องถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินทั้งนั้น กรณีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือที่กฎหมายเรียกว่า ความผิดอันยอมความกันได้นั้น ถือเป็นข้อยกเว้นซึ่งจะต้องมีกฎหมาย บัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจง

ความผิดอันยอมความกันได้นี้แตกต่างจากความผิดอาญาแผ่นดิน คือผู้เสียหายไม่ติดใจเอาแก่ผู้กระทำความผิด เช่นไม่ยอมร้องทุกข์ ตำรวจก็จะสอบสวมผู้กระทำผิดมิได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 อันจะทำให้รัฐไม่อาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดไปโดยลำพังได้ หรือหากมีการดำเนินคีด เมื่อมีการถอนฟ้องหรือยอมความกัน สิทธินำคดีนั้นมาฟ้องก็จะกลับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39

การใช้กฎหมายอาญา
เมื่อการกระทำผิดเกิดขึ้น และการกระทำผิดนั้นยอมความมิได้หรือเป็นความผิดอันยอมความได้ ้และผู้เสียหายติดใจที่จะให้มีการดำเนินคดีก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้อง เข้ามาเกี่ยวข้องโดยการนำตัวผู้กระทำผิดไปลงโทษ

แต่เนื่องจากการลงโทษทางอาญานั้นมีผลกระทบกระเทือนต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ และทรัพย์สินของประชาชน จึงมีหลักการยอมรับกันในทางกฎหมายที่ว่า "ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ หากไม่มีกฎหมาย"

หลักเกณฑ์การใช้กฎหมายอาญา

  1. ผู้กระทำความไม่ต้องรับผิดชอมในทางอาญาหากการกระทำนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ในขณะกระทำว่าเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้
  2. กฎหมายอาญาจะย้อนหลังเป็นผลร้ายมิได้
  3. ถ้อยคำในกฎหมายอาญาต้องบัญญัติให้ชัดเจนแน่นอนปราศจาการคลุมเครือ
  4. กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด
  5. หลักการตีความโดยเคร่งครัดมีดังนี้
    1. จะนำบท กฎหมายใกล้เคียง มาใช้เป็นผลร้ายมิได้
    2. จะนำ จารีตประเพณี มาใช้เป็นผลร้ายมิได้
    3. จะนำ หลักกฎเกณฑ์ทั่วไป มาใช้เป็นผลร้ายมิได้

การตีความกฎหมายอาญา
การตีความกฎหมายอาญานั้นจะต้องตีความที่ถูกต้องโดยผู้ตีความชอบที่จะต้องใช้การผสมผสานของหลักเกณฑ์การตีความ โดยถือเอา การตีความตามความมุ่งหมายของตัวบทกฎหมายเป็นแกนนำ ส่วนหลักเกณฑ์การตีความกฎหมายอื่นๆนั้นเป้นเพียงปัจจัย ที่จะนำเข้าไปใกล้กับความหมายที่แท้จริงของตัวบทกฎหมายเท่านั้น

หลักการตีความกฎหมายทั่วไปที่นำมาใช้ตีความกฎหมายอาญาพอสรุปได้ดังนี้

  1. การตีความตามหลักภาษา
  2. การตีความตามความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบของกฎหมาย
  3. การตีความตามประวัติความเป็นมาของกฎหมาย และ
  4. การตีความตามความมุ่งหมายของตัวบทกฎหมาย


โครงสร้างของกฎหมายอาญาของไทย แบ่งออกเป็น 3 ภาคดังนี้

  1. กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
  2. กฎหมายอาญาภาคความผิด
  3. กฎหมายอาญาภาคลหุโทษ
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2012 เวลา 22:48 น.  
ป้ายโฆษณา

รับต่อเติมบ้าน

รับติดตั้งจานดาวเที่ยม กล้องวงจรปิด

รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

เนื้อโคขุนโพนยางคำ

Login Form


Polls

ปกติใช้คอมพิวเตอร์ for ?
 

Who's Online

เรามี 5 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 2529428

RSS