Home กฏหมานน่ารู้ หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา

หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา

อีเมล พิมพ์ PDF

 

กลับไปที่หน้าสารบาญส่วนที่ 1 โทษ
Topมาตรา 18 โทษสำหรับลงแต่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้
(1) ประหารชีวิต
(2) จำคุก
(3) กักขัง
(4) ปรับ
(5) ริบทรัพย์สิน
โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
ในกรณีผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปี
หมายเหตุอ่านมาตรา 18 วรรคสอง,วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546
Top"มาตรา 19 ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย
หลักเกณฑ์และวิธีการประหารชีวิต ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมายเหตุอ่านมาตรา 19 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546
Top"มาตรา 20 บรรดาความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุก และปรับด้วยนั้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกก็ได้
Top"มาตรา 21 ในการคำนวณระยะเวลาจำคุก ให้นับวันเริ่มจำคุก รวมคำนวณเข้าด้วย และให้นับเป็นหนึ่งวันเต็มโดยไม่ต้องคำนึงถึง จำนวนชั่วโมง
ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือน ให้นับสามสิบวัน เป็นหนึ่งเดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ เมื่อผู้ต้องคำพิพากษาถูกจำคุกครบกำหนดแล้ว ให้ปล่อยตัวใน วันถัดจากวันที่ครบกำหนด
Top"มาตรา 22 โทษจำคุก ให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้อง คำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขัง ออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้น จะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่คำพิพากษากล่าวไว้เป็นอย่างอื่น โทษจำคุกตาม คำพิพากษาเมื่อรวมจำนวนวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดี เรื่องนั้นเข้าด้วยแล้ว ต้องไม่เกินอัตราโทษขั้นสูงของกฎหมายที่ กำหนดไว้ สำหรับความผิดที่ได้กระทำลงนั้น ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบ กระเทือนบทบัญญัติในมาตรา 91
Top"มาตรา 23 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาล จะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษ จำคุกมาก่อนหรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ศาล จะพิพากษาให้ลงโทษกักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นก็ได้
Top"มาตรา 24 ผู้ใดต้องโทษกักขัง ให้กักตัวไว้ในสถานที่กักขังซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน
ถ้าศาลเห็นเป็นการสมควร จะสั่งในคำพิพากษาให้กักขังผู้กระทำ ความผิดไว้ในที่อาศัยของผู้นั้นเอง หรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ หรือสถานที่อื่นที่อาจกักขังได้ เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทหรือสภาพ ของผู้ถูกกักขังก็ได้
ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่า การกักขังผู้ต้องโทษกักขังไว้ในสถานที่กักขังตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้นั้น หรือทำให้ผู้ซึ่งต้องพึ่งพาผู้ต้องโทษกักขังในการดำรง ชีพได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร หรือมีพฤติการณ์พิเศษประการอื่นที่แสดงให้เห็นว่า ไม่สมควรกักขังผู้ต้องโทษกักขังในสถานที่ดังกล่าว ศาลจะมีคำสั่งให้กักขังผู้ต้องโทษกักขังในสถานที่อื่นซึ่งมิใช่ที่อยู่อาศัยของผู้นั้นเองโดยได้รับความ ยินยอมจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลมีอำนาจกำหนดเงื่อน ไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ต้องโทษกักขังปฏิบัติ และหากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวยินยอม ศาลอาจมีคำสั่งแต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้ควบคุม ดูแลและให้ถือว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายนี้
หมายเหตุอ่านมาตรา 24 วรรคแรก แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
อ่านมาตรา 24 วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
Top"มาตรา 25 ผู้ต้องโทษกักขังในสถานที่ซึ่งกำหนดจะได้รับการเลี้ยงดู จากสถานที่นั้น แต่ภายใต้ข้อบังคับของสถานที่ ผู้ต้องโทษกักขังมีสิทธิ ที่จะรับอาหารจากภายนอก โดยค่าใช้จ่ายของตนเอง ใช้เสื้อผ้าของ ตนเอง ได้รับการเยี่ยมอย่างน้อยวันละหนึ่งชั่วโมง และรับและส่ง จดหมายได้
ผู้ต้องโทษกักขังจะต้องทำงานตามระเบียบ ข้อบังคับและวินัย ถ้าผู้ต้องโทษกักขังประสงค์จะทำงานอย่างอื่น ก็ให้อนุญาตให้เลือก ทำได้ตามประเภทงานที่ตนสมัคร แต่ต้องไม่ขัดต่อระเบียบ ข้อบังคับ วินัย หรือความปลอดภัยของสถานที่นั้น
Top"มาตรา 26 ถ้าผู้ต้องโทษกักขังถูกกักขังในที่อาศัยของผู้นั้นเอง หรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ ผู้ต้องโทษกักขังนั้นมีสิทธิที่จะ ดำเนินการในการวิชาชีพหรืออาชีพของตนในสถานที่ดังกล่าวได้ ใน การนี้ศาลจะ กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องโทษกักขังปฏิบัติอย่างหนึ่ง อย่างใดหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
Top"มาตรา 27 ถ้าในระหว่างที่ผู้ต้องโทษกักขังตาม มาตรา 23ได้รับโทษกักขังอยู่ความปรากฎแก่ศาลเอง หรือปรากฎแก่ศาลตามคำแถลงของ พนักงานอัยการหรือผู้ควบคุมดูแลสถานที่กักขังว่า
(1) ผู้ต้องโทษกักขังฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับหรือวินัยของสถานที่กักขัง
(2) ผู้ต้องโทษกักขังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด หรือ
(3) ผู้ต้องโทษกักขังต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก
ศาลอาจเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุกมีกำหนดเวลา ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินกำหนดเวลาของโทษกักขังที่ผู้ต้อง โทษกักขังจะต้องได้รับต่อไป
หมายเหตุอ่านมาตรา 27 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
Top"มาตรา 28 ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
Top"มาตรา 29 ผู้ใดต้องโทษปรับ และไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือ มิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัย ว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่ง ให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้
ความในวรรคสองของ มาตรา 24มิให้นำมาใช้บังคับแก่การกักขัง แทนค่าปรับ
Top"มาตรา 30 ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวันและไม่ว่า ในกรณีความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทงห้าม กักขังเกินกำหนดหนึ่งปี เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปีก็ได้
ในการคำนวณระยะเวลานั้น ให้นับวันเริ่มกักขังแทนค่าปรับรวมเข้าด้วยและให้นับเป็นหนึ่งวันเต็มโดยไม่คำนึงถึงจำนวนชั่วโมง
ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังนั้นออกจากจำนวนเงินค่าปรับ โดยถืออัตราสองร้อยบาท ต่อหนึ่งวันเว้นแต่ผู้นั้นต้องคำพิพากษาให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ ในกรณีเช่นว่านี้ถ้าจะต้องหักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากเวลาจำคุกตาม มาตรา 22ก็ให้หักออกเสียก่อนเหลือเท่าใดจึงให้หักออก จากเงินค่าปรับ
เมื่อผู้ต้องโทษปรับถูกกักขังแทนค่าปรับครบกำหนดแล้ว ให้ปล่อยตัวในวันถัดจากวันที่ครบกำหนด ถ้านำเงินค่าปรับมาชำระครบ แล้ว ให้ปล่อยตัวไปทันที
หมายเหตุอ่านมาตรา 30 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
Top"มาตรา 30/1 ในกรณีที่ศาลพิพากษาปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท ผู้ต้องโทษปรับซึ่งมิใช่นิติบุคคลและไม่มีเงิน ชำระค่าปรับอาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคม หรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ
การพิจารณาคำร้องตามวรรคแรก เมื่อศาลได้พิจารณาถึงฐานะการเงิน ประวัติและสภาพความผิดของผู้ต้องโทษปรับแล้ว เห็นเป็นการสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้นั้นทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค้าปรับก็ได้ ทั้งนี้ ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริการสังคม การกุศลสาธารณะหรือสาธารณประโยชน์ที่ยินยอมรับดูแล
กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ต้องโทษปรับทำงาน บริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับให้ศาลกำหนดลักษณะหรือประเภทของงาน ผู้ดูแลการทำงาน วันเริ่มทำงาน ระยะเวลาทำงาน และจำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงเพศ อายุ ประวัติ การนับถือศาสนา ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อมหรือสภาพ ความผิดของผู้ต้องโทษปรับประกอบด้วย และศาลจะกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ต้องโทษปรับปฏิบัติเพื่อแก้ไขฟื้นฟู หรือป้องกันมิให้ผู้นั้นกระทำความผิดขึ้นอีกก็ได้
ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลว่าพฤติ การณ์เกี่ยวกับการทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์ ของผู้ต้องโทษปรับได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่กำหนดไว้นั้นก็ได้ตามที่เห็นสมควร
ในการกำหนดระยะเวลาทำงานแทนค่าปรับตามวรรคสาม ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 30มาใช้บังคับโดยอนุโลม และในกรณีที่ศาลมิได้กำหนดให้ผู้ต้องโทษปรับทำงานติดต่อกันไป การทำงานดัง กล่าวต้องอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาสองปีนับแต่วันเริ่มทำงานตามที่ศาลกำหนด
เพื่อประโยชน์ในการกำหนดจำนวนชั่วโมงทำงานตามวรรคสาม ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม กำหนดจำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวัน สำหรับงานบริการสังคมหรืองานสาธารณประโยชน์แต่ละประเภทได้ตามที่เห็นสมควร
หมายเหตุอ่านมาตรา 30/1 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
Top"มาตรา 30/2 ถ้าภายหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตตาม มาตรา 30/1แล้ว ความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงาน ว่าผู้ต้องโทษปรับมีเงินพอชำระค่าปรับได้ในเวลาที่ยื่นคำร้องตาม มาตรา 30/1หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือเงื่อนไขที่ศาลกำหนด ศาลจะเพิกถอนคำสั่งอนุญาตดังกล่าวและปรับ หรือกักขังแทนค่าปรับ โดยให้หักจำนวนวันที่ทำงานมาแล้วออกจากจำนวนเงินค่าปรับก็ได้
ในระหว่างการทำงานบริการสังคมหรือทำงาน สาธารณประโยชน์แทนค่าปรับหากผู้ต้องโทษปรับไม่ประสงค์จะทำงานดังกล่าวต่อไป อาจขอเปลี่ยนเป็นรับโทษปรับ หรือกักขังแทนค่าปรับก็ได้ ในกรณีนี้ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้อง โดยให้หักจำนวนวันที่ทำงานมาแล้วออกจากจำนวนเงินค่าปรับ
หมายเหตุอ่านมาตรา 30/2 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
Top"มาตรา 30/3 คำสั่งศาลตาม มาตรา 30/1 และ มาตรา 30/2 ให้เป็นที่สุด
หมายเหตุอ่านมาตรา 30/3 เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2545
Top"มาตรา 31 ในกรณีที่ศาลจะพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิด หลายคน ในความผิดอันเดียวกัน ในกรณีเดียวกัน ให้ศาลลงโทษปรับ เรียงตามรายตัวบุคคล
Top"มาตรา 32 ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้ เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และ มีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
Top"มาตรา 33 ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตาม กฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้อีกด้วยคือ
(1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจ ด้วยในการกระทำความผิด
Top"มาตรา 34 บรรดาทรัพย์สิน
(1) ซึ่งได้ให้ตามความใน มาตรา 143มาตรา 144มาตรา 149มาตรา 150มาตรา 167
มาตรา 201หรือ มาตรา 202หรือ
(2) ซึ่งได้ให้เพื่อจูง ใจบุคคลให้กระทำความผิด หรือเพื่อเป็นรางวัล ในการที่บุคคลได้กระทำความผิด
ให้ริบเสียทั้งสิ้น เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็น ใจด้วยในการกระทำความผิด
Top"มาตรา 35 ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่ศาลจะ พิพากษาให้ทำให้ทรัพย์สินนั้นใช้ไม่ได้หรือทำลายทรัพย์สิน นั้นเสียก็ได้
Top"มาตรา 36 ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตาม มาตรา 33หรือ มาตรา 34ไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของ แท้จริงว่า ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำ ความผิด ก็ให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ใน ความครอบครองของเจ้าพนักงาน แต่คำเสนอของเจ้าของแท้จริงนั้น จะต้องกระทำต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
Top"มาตรา 37 ถ้าผู้ที่ศาลสั่งให้ส่งทรัพย์สินที่ริบไม่ส่งภายในเวลาที่ ศาลกำหนด ให้ศาลมีอำนาจสั่งดังต่อไปนี้
(1) ให้ยึดทรัพย์สินนั้น
(2) ให้ชำระราคาหรือสั่งยึดทรัพย์สินอื่นของผู้นั้นชดใช้ราคาจนเต็ม หรือ
(3) ในกรณีที่ศาลเห็นว่า ผู้นั้นจะส่งทรัพย์สินที่สั่งให้ส่งได้แต่ไม่ส่ง หรือชำระราคาทรัพย์สินนั้นได้ แต่ไม่ชำระ ให้ศาลมีอำนาจกักขังผู้ นั้นไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ไม่เกินหนึ่งปีแต่ถ้าภายหลัง ปรากฏแก่ศาลเองหรือโดยคำเสนอของผู้นั้นว่า ผู้นั้นไม่สามารถส่ง ทรัพย์สินหรือชำระราคาได้ศาลจะสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไปก่อนครบ กำหนดก็ได้
Top"มาตรา 38 โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด


แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2012 เวลา 04:50 น.  
ป้ายโฆษณา

รับต่อเติมบ้าน

รับติดตั้งจานดาวเที่ยม กล้องวงจรปิด

รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

เนื้อโคขุนโพนยางคำ

Login Form


Polls

ปกติใช้คอมพิวเตอร์ for ?
 

Who's Online

เรามี 5 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 2529412

RSS