Home บริการความรู้เรื่องบ้าน ซ่อมแซมสุขภัณฑ์หลังน้ำลด

ซ่อมแซมสุขภัณฑ์หลังน้ำลด

อีเมล พิมพ์ PDF

อีกหนึ่งปัญหาที่นับว่าหนักอกหนักใจสำหรับผู้อยู่อาศัยไม่น้อยหลังจากเดินเข้าไปสำรวจบ้านหลังน้ำท่วม ก็คือการเผชิญกันตัวต่อตัวกับพื้นที่ส่วนตัวที่ใช้ในการขับถ่ายอย่าง “ส้วม” ซึ่งนับเป็นพื้นที่ที่ทำความสะอาดยากอีกหนึ่งพื้นที่หากคุณไม่รู้วิธีรับมือกับมันอย่างถูกต้อง อาจจะเจอกับปัญหาส้วมระเบิดก็เป็นได้ แล้วภาพที่ไม่น่าพึงประสงค์ต่างๆ ก็จะปรากฎให้เห็นกันอย่างหนักอกหนักใจเลยทีเดียว

flood04_1


1. เมื่อคุณเข้าไปในห้องส้วมเพื่อสำรวจความเสียหาย สิ่งต้องห้ามที่ไม่ควรทำเป็นอย่างแรกเลยคือการกดชักโครก เพราะอาจทำให้ส้วมระเบิดได้ (ทั้งนี้จะพบในกรณีที่น้ำท่วมขังเท่านั้น ถ้าน้ำลดแล้วไม่เป็นไร) เนื่องจากระดับน้ำภายนอกจะมีแรงดันมากกว่า แล้วจะดันให้น้ำไหลย้อนกลับทางหัวชักโครก ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาพคล้ายส้วมระเบิดได้

2. หากเป็นส้วมระบบบ่อซึม (หมายถึงเมื่อของเสียย่อยสลายแล้ว จะซึมผ่านสู่พื้นดิน) แล้วบ่อซึมวางอยู่ในบริเวณที่พื้นดินเจิ่งนอง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือบ่อซึมไม่ยอมซึมน้ำออก ยิ่งหากในช่วงน้ำท่วม นอกจากน้ำจะไม่ไหลออกแล้ว น้ำที่ท่วมขังยังไหลย้อนเข้ามาในบ่ออีกด้วย ทำให้เกิดการราดส้วมไม่ลง ทางแก้ก็คือรอให้พื้นดินแห้งสักนิด หากเป็นไปได้ควรเปลี่ยนระบบ มาใช้เป็นระบบเครื่องกลสำหรับย่อยสลาย (ถังส้วมสำเร็จ) ซึ่งจะทำหน้าที่ย่อยสลายปฏิกูลต่าง ๆ จนเป็นน้ำสะอาด แล้วค่อยปล่อยลงท่อระบายน้ำสาธารณะ

flood04_2


3. หากโถส้วมอยู่ระดับต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับถังส้วม เมื่อเกิดนํ้าท่วมจะทำให้ระดับนํ้าในถังส้วมสูงกว่าระดับของโถส้วม ทำให้ราดน้ำไม่ลงหรือมีน้ำล้นออกมาจากส้วม แก้ไขได้โดยยกระดับโถส้วมให้สูงขึ้น

4. หลังน้ำท่วม น้ำในดินยังมีคงมีมาก หากเกิดอาการราดส้วมไม่ลงอาจมีสาเหตุจากท่อส้วมแตก ควรทำการสำรวจแนวท่อส้วมให้ดีว่ามีท่อแตกหรือไม่ หากพบท่อแตกให้ตามช่างมาซ่อมแซมให้เรียบร้อย

flood04_3


5. เมื่อน้ำลด อาจมีเศษขยะลอยมาอุดตันท่อระบายอากาศ (ท่อปล่อยกลิ่น) ทำให้อากาศไม่สามารถระบายจากถังส้วม เวลาราดน้ำมักจะราดลงบ้างไม่ลงบ้าง ทางที่ดีควรกำจัดสิ่งอุดตันด้วยการใช้สายยางสอดเข้าไปจนสุดแล้วเปิดน้ำไล่ จนสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ

6. ควรตรวจเช็คสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ ว่าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ ด้วยวิธีการถอดสายน้ำดี เพื่อล้างตะกอนในเส้นท่อก่อนเข้าโถ จากนั้นเมื่อน้ำสะอาดแล้วจึงประกอบสายน้ำดีคืนและทำการขจ่ายน้ำเข้าโถเพื่อทำความสะอาดอุปกรณ์ภายในหม้อน้ำที่อยู่ในโถ อย่าลืมทำการตรวจสอบการทำงานอุปกรณ์ต่างๆ ว่าใช้งานได้หรือไม่ อย่างเช่นลูกลอย เปิด – ปิด น้ำ และลูกยางเปิด – ปิดน้ำลงโถ ด้วยการกดชักโครก หากพบว่าชักน้ำไม่ลงหรือน้ำลงช้า แสดงว่าอาจมีสิ่งอุดตันในโถสุขภัณฑ์ ควรใช้ลูกยางปั๊มดูดขึ้นมา

7. ขจัดคราบสกปรกที่เกาะติดอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ก๊อกน้ำ และฝักบัวสายโลหะเกลียวที่แช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน ด้วยการใช้น้ำยาหรือครีมอเนกประสงค์ขัดโลหะให้สะอาด

flood04_5

8. ทำความสะอาดพื้นกระเบื้องห้องน้ำด้วยน้ำยาทำความสะอาดโดยเฉพาะที่หาซื้อตามร้านจำหน่ายกระเบื้องเซรามิกทั่วไป ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นกรดเข้มข้นที่วางขายตามท้องตลาด เพราะจะกัดร่องยาแนวและผิวกระเบื้อง ทำให้เกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ระวังน้ำยาทำความสะอาดไปสัมผัสโดนวัตถุที่เป็นโลหะหรือพลาสติก เพราะอาจทำให้เกิดคราบด่างดำที่ไม่สามารถแก้ไขได้

9. สำหรับการทำความสะอาดตู้อาบน้ำ สามารถใช้น้ำยาล้างจานขจัดคราบสกปรกต่างๆ ได้ แต่หากบ้านคุณใช้อ่างน้ำวน ควรตัดระบบไฟฟ้าและงดใช้งาน แล้วจึงเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ

 
ป้ายโฆษณา

รับติดตั้งจานดาวเที่ยม กล้องวงจรปิด

เนื้อโคขุนโพนยางคำ

Login Form


Polls

ปกติใช้คอมพิวเตอร์ for ?
 

Who's Online

เรามี 6 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

Counter

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 2527657

RSS